1.ความหมายคำว่า
กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ
กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นต้นแบบให้กับ
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับอื่น ๆ ที่เรียกว่ากฎหมายลูก
พระราชบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติ
หรือจะเรียกว่าเป็นกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติก็ได้
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
ซึ่งเมื่อตราขึ้นแล้วจะต้องเสนอต่อรัฐสภาเพื่ออนุมัติ ถ้าสภาไม่อนุมัติ
พระราชกำหนดนั้นก็ตกไป
แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ได้ปฏิบัติไปตามพระราชกำหนดนั้นแล้ว
แต่ถ้ารัฐสภาอนุมัติ
พระราชกำหนดนั้นก็มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติต่อไป
พระรากฤษฎีกา เป็นอนุบัญญัติ เป็นกฎหมายรองจากพระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ซึ่งพระรมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
พระราชกฤษฎีกานั้นต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ
หรือพระราชกำหนด
เทศบัญญัติ คือ
กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ.2496 ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี
สมาชิกสภาเทศบาล
หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
พ.ศ.2542
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร
หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล
ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน
แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ควรมีกฎเกณฑ์
มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ
เพื่อให้สังคมมีระเบียบ ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและอยู่อย่างสันติสุข
ซึ่งกฎเกณฑ์หรือกติกาของสังคมดังกล่าวได้แก่รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ
ที่ใช้บังคับอยู่ในสังคม หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญข้าพเจ้าคิดว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์
มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ
3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา
112
มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ไม่ควรแก้ เพราะการที่จะแก้รัฐธรรมนูญนั้นต้องแก้เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ
ถ้าแก้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเหตุผลอื่นไม่ควรแก้
เหตุผลที่มีประชาชนบางกลุ่มคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำ เพื่อตนเองไม่ใช่เพื่อส่วนรวม
และเป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบในปัจจุบัน
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร
และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา
ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพภายใน การประกันคุณภาพภายนอก ผู้สอน
ครู คณาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
การศึกษา คือ
วิธีการซึ่งส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์
เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ
ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน
(Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non
- Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal
Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self
- directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง
และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ
ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย
ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ
โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรง ชีวิต
ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข
การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร
จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง
การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน
จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ
ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร
ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน
ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้
ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ
อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
สถานศึกษา หมายถึง
หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ
หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง
สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายถึง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ
ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เปฌนหลัก
ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล
และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล
สถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ผู้สอน หมายถึง
ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู
หมายถึง
บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายถึง บุคลากร
ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา
ของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ
การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
รวมทั้ง
ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน
การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา
อย่างไร
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และหลักการในการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
1)เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู
หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร
หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
พ.ศ. 2547
2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้
นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม และเป็นไปได้อย่างไร
วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
วิชานี้เป็นวิชาที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการเรียนการสอน
เป็นการกระตุ้นและดึงดูดนักศึกษาในการเรียนรู้มากขึ้น นักศึกษาได้ทั้งความรู้ทางด้านวิชาการกฎหมาย และควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยี ครูผู้สอนก็สอนโดยใช้ Weblog เป็นการสอนที่ใหม่ เหมาะสมกับการเรียนรู้ในปัจจุบัน
และครูผู้สอนก็สามารถสอนได้อย่างมีความสะดวก ผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องนั่งจดใส่กระดาษ และยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ใน weblog
ของเราเองได้ น้ำหนักวิชานี้ให้
A เพราะเป็นวิชาที่เรียนแล้วมีความรู้ควบคู่เทคโนโลยี และเกรดที่อยากได้ คือ A ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น