ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
-กฎหมายคือ คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด
หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าไม่ว่าบุคคลใด
ชนชั้นใดก็ต้องยอมรับสิทธิเสรีภาพและปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้และไม่อาจที่จะเลือกปฏิบัติได้
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
-เห็นด้วย เพราะใบประกอบวิชาชีพเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ
และคุณภาพที่พึงประสงค์
ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
- มีการส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากร
โดยการสนับสนุนการอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
-การจัดการศึกษามี
3
รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบมีสองระดับ
คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
-การศึกษาภาคบังคับเป็นการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1
ถึงชั้นมัธยมศึกษาปี3 ของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
- การแบ่งส่วนราชการมีการแบ่งเป็น
2 ส่วนดังนี้
1.สำนักงานปลัดกระทรวง
2.
ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการมีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดังนี้
1.
สานักงานรัฐมนตรี
2.
สานักงานปลัดกระทรวง
3.
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6.
สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
-ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546 เพราะครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีรูปแบบในการปฏิบัติเป็นหนึ่งเดียว
และความเสมอภาคของครูและบุคลากรทางการศึกษา
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ. นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ. นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
-
ไม่ผิด
เพราะในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้มีข้อยกเว้นใน
มาตรา ๔๓
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
- โทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ กฏหมาย กฏ ข้อบังคับ ระเบียบ
และแบบธรรมเนียมที่กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติ
ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
1. ภาคทัณฑ์
เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือนนอกจากนี้
ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
2. ตัดเงินเดือน
เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น
ตัดเงินเดือน 5%
เป็นเวลา 2
เดือน เมื่อพ้นเวลา2
เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ
3. ลดเงินเดือน
เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์เช่น ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำผิด
ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
1. ปลดออก
เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
2. ไล่ออก
เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ
10.ท่านเข้าใจคำว่า
เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า
เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ
พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจของท่าน
“เด็ก” หมายความว่า
บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18
ปีบริบูรณ์
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า
เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้
อาศัยหลับนอนตามที่สาธารณะ
“เด็กกำพร้า” หมายความว่า
เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่ทำให้เด็กได้รับความลำบาก
หรือต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัย หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“เด็กพิการ” หมายความว่า
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร
เด็กที่ประกอบอาชีพที่นำไปสู่การกระทำผิดต่อกฎหมาย
“ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำการใด ๆ
จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก
การใช้เด็กให้ประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น