ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาแล้วตอบคำถาม
1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. 2545
ตอบ
เหตุผลที่ต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 เพราะ
โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้ บิดา มารดา
หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการภาคศึกษาบังคับจำนวนเก้าปี
โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก
เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
การสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยประถมศึกษา
เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ.2545
2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. 2545 อย่างไร
ก. ผู้ปกครอง
ข.เด็ก ค. การศึกษาภาคบังคับ ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ ก. ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา
หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
หรือผู้ปกครองตามกฎหมายแพ่งและพานิตย์
และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่
รับใช้การงาน
ข. เด็ก หมายความว่า
เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ปีที่
เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ค. การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า
การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ง.
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หมายความว่า
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ใน
สังกัด
3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร
และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบ
ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่ง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบเด็ก แล้วแต่กรณีเพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา
สำหรับกรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายดังต่อไปนี้
มาตรา 13
ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา
6
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา 14
ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 9 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
หนึ่งพันบาท
มาตรา 15
ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร
กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนใน
สถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 16
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 11 หรือแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่ง
หมื่นบาท
4.
ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
มีทั้งหมด 21 ข้อ
- อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในพรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
- อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ
คือ จัดการศึกษา บำรุงศาสนา และ สืบสานศิลปวัฒนธรรม
- การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น
3 ส่วนคือ ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
- การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึง
*คุณวุฒิ
ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ
*ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ
และคุณภาพงาน
- บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. นี้คือ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ และ ตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
- การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานรัฐมนตรีและ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- ส่วนราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี
ไม่เป็นนิติบุคคล ส่วน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคล
- ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ
คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา
คือ พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ, พิจารณาเสนอนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษา
และพิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
- ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา
คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- คณะกรรมการสภาการศึกษา
กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. 2546
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และ
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
คือ นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุง ,ตรวจราชการ
และศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
- หน่วยงานระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้
คือ กระทรวงศึกษาธิการ ,กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม และ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
คือ ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน
- บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คือ ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา
เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา และ ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
- ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการ
ศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้จัด
- หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้
หน่วยงานที่สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ คือหน่วยงานดังต่อไปนี้
1.
การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
2.
การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ
3. การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง
ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
- ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ
- ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คือ
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น